welcomeBrainbankยินดีต้อนรับทุกท่าน

กลุ่มที่ 5

กลุ่มชุมชนเข้มแข็ง

เครือข่ายวุฒิอาสาฯ ชาติพันธุ์ไทยภาคเหนือ (ลำพูน)

1. ลักษณะการทำงานของวุฒิฯ (ปัจเจก/กลุ่ม) และวิธีการ approach ทำงานกับภาคีเครือข่าย การทำงานของวุฒิฯ เป็นแบบกลุ่ม โดย วุฒิอาสาฯ ลงพื้นที่ศึกษาความต้องการของชุมชนและทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นตามพื้นที่ชายแดนเรื่องความยากจน ขาดพื้นที่ทำกิน และขาดความรู้ในการประกอบ อาชีพ ทำให้มีการลักลอบขนยาเสพติด แรงงาน เถื่อน การบุกรุกและตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำ เนื่องจากขาดการศึกษาและ ไม่ได้รับการดูแลและความช่วยเหลือจากภาครัฐ หรือเอกชน วุฒิอาสาฯ จึงร่วมกับภาคีเครือข่าย เข้าไปสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนของ ชุมชนชาติพันธุ์ชนเผ่าภาคเหนือในหลายชุมชน ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการนำไปใช้ ในวิถีชีวิตและการทำงานจนเห็นเป็นรูปธรรม ซึ่งอาศัยการทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อการประกอบอาชีพในพื้นที่ ควบคู่กับการดูแลรักษาป่า โดยวุฒิอาสาฯ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ เช่น กรมป่าไม้ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด (อบจ.) กระทรวงมหาดไทย ทหาร ตำรวจ โรงเรียน และ และสถาบันทางศาสนา ให้ความช่วยเหลือชาวไทยภูเขาตามแนวชายแดน ในด้านต่างๆ

บทบาทของวุฒิอาสาฯ

วุฒิอาสาฯ มีบทบาทสำคัญการถ่ายทอดศาสตร์ของพระราชา และการพัฒนาพื้นที่ป่าที่เสื่อมโทรมในหมู่บ้านยามชายแดนในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน และอุตรดิตถ์ โดยในช่วงแรกร่วมกับชาวบ้าน หน่วยงานทหาร และวุฒิอาสาฯ ปลูกต้นไม้และสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่ เป็นแหล่งอาหารและแหล่งน้ำในการอุปโภค บริโภค และส่งเสริมการประกอบอาชีพด้วยการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงการประสานหน่วยงานในพื้นที่เพื่อให้การสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนา และจัดกิจกรรมให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน

ผลการดำเนินงาน

เกิดความมั่นคงในทุกมิติในพื้นที่จากเดิมมีการบุกรุกป่าทำไร่เลื่อนลอยมีรายได้ไม่แน่นอน ทำลายทรัพยากรธรรมชาติด้วยการบุกรุกป่าต้นน้ำ หลังจากวุฒิอาสาฯ ทำความเข้าใจในความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ ปรับแนวคิดเรื่องการทำการเกษตร และประสานงานกับภาคีเครือข่าย เช่น ป่าไม้ ทหาร เพื่อพูดคุณและหาข้อตกลงร่วมกันเพื่อประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ ควบคู่กับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเป็นป้องกันปัญหาภัยคุกคามจากภายนอก

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

3.1 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ด้วยการเข้าถึงพื้นที่อย่างต่อเนื่องสร้างความเชื่อมั่นและไว้ใจทำให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่และความสามารถในการประสานหน่วยงานได้ตรงตามความต้องการ โดยอาศัยความต้องการของชุมชนเป็นจุดยืนและประสานหน่วยงานในเข้ามาทำงานใน

ผลที่ได้รับ

ทางตรง
การสร้างฝาย การส่งเสริม และพัฒนาอาชีพตามบริบทของชุมชน การทำการเกษตรการดูแลป่าต้นน้ำการอนุรักษ์และคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเช่น บ้านมะโอโค๊ะ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก บ้านปางคอง ตำบลนาปู่ป้อม อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น
ทางอ้อม

การดูแลป่าต้นน้ำการอนุรักษ์และคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พื้นที่ป่าต้นน้ำในพื้นที่เพิ่มขึ้นจากการดูแลรักษาป่าของชุมชน และร่วมกันสร้างแนวกันไฟ

หุ่นยนต์บังคับมือต้านภัยยาเสพติด (อุตรดิตถ์)

จังหวัดอุตรดิตถ์

1. ลักษณะการทำงานของวุฒิฯ (ปัจเจก/กลุ่ม) และวิธีการ approach ทำงานกับภาคีเครือข่าย ลักษณะการทำงานของวุฒิฯ เป็นแบบปัจเจก สำหรับวิธีการ approach ทำงานกับภาคีเครือข่าย มีนายองอาจ พรมประไพ และนางกมลทิน พรมประไพ สมาชิกวุฒิอาสาจังหวัดจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เห็นเยาวชนในกรุงเทพฯ ได้รับโอกาสในการศึกษาที่หลากหลาย จึงได้มีแนวคิดในการสร้างโอกาสให้เด็กในต่างจังหวัดได้รับโอกาสผ่านกิจกรรมแข่งหุ่นยนต์ระดับพื้นฐาน และสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติดให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษา ในเขตเทศบาลตำบลงิ้วงาม เทศบาลตำบลผาจุกและพื้นที่ใกล้เคียง จำนวนกว่า 20 โรงเรียน ด้วยความรวมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วงามและตำบลผาจุก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนที่ร่วมโครงการเกิดการเรียน รู้ หลักการของหุ่นยนต์ระดับพื้นฐานและเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ รวมถึงสร้างจิตสำนึกให้นักเรียนที่ร่วมโครงการ ได้รู้แนวทางในการหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลยาเสพติด เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนที่ได้รับโอกาสในการแข่งขันระดับประเทศ ซึ่งมีการแข่งขันที่หลากหลายเปิดโอกาสในการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีที่ไม่ได้มีโอกาสในโรงเรียนต่างจังหวัด เกิดการต่อยอดจนได้รับรางวัลในระดับประเทศเช่น รางวัลที่ 4 การแข่งขันเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ ของ สสวท. (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) นักเรียนได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ รายการ ROBOONE ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น รางวัลที่ 3 โครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทประยุกต์ใช้งาน (ลานจอดปลอดภัย) ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันหุ่นยนต์ส.ส.ท.ยุวชนกรังด์ปรีซ์ (Robo Knight) ของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (ส.ส.ท.) ชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติระดับชาติจาก สพฐ.ร่วมกับกลุ่มโรงเรียนผู้นำ ICT เป็นต้น

บทบาทของวุฒิอาสาฯ

เป็นวิทยากรอบรมความรู้หุ่นยนต์ระดับพื้นฐาน และประสานจัดการแข่งขันง

ผลการดำเนินงาน

นักเรียนมีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปประยุกค์ใช้ในการทำงานหรือการช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ จนเป็นตัวแทนระดับประเทศ ไปแข่งขันการประกวดหุ่นยนต์บังคับมือระดับนานาชาติ ได้รับรางวัลเหรียญทอง และสามารถต่อยอดการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ อาทิ หุ่นยนต์ผู้ช่วยแพทย์ ตรวจรักษาผู้ป่วยโรค COVID – 19 เริ่มจากการเรียนพื้นฐานของหุ่นยนต์เบื้องต้น สร้างแรงบันดาลใจส่งผลให้นักเรียนมีเป้าหมายในการศึกษา และพัฒนาตนเองจนประสบความสำเร็จ

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

ด้วยการที่วุฒิอาสาฯ สั่งสอน เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้การสนับสนุน แรงผลักดัน ดูแล และใช้วิธี “พี่สอนน้อง” โดยการผลักดันให้รุ่นน้องได้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์โดยรับบทเป็นทีมสังเกตการณ์ และเป็นผู้ช่วยให้กับรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์มากกว่าทำให้ได้เรียนรู้แนวทางและจุดประการให้พัฒนาตนเองต่อไป

ผลที่ได้รับ

ทางตรงเยาวชนได้ความรู้เบื่องต้นของหุ่นยนต์ระดับพื้นฐาน ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

ทางอ้อม เยาวชนในพื้นที่ได้โอกาสทางการศึกษาที่หลากหลาย เกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เกิดการต่อยอดความรู้ที่ได้เรื่องหุ่นยนต์ สร้างพื้นฐานและระบบความคิดในการศึกษา
ผลประโยชน์ที่ได้รับ

เชื่อเสียง รางวัลและประสบการณ์ จากการแข่งขัน เช่น รางวัลที่ 4 การแข่งขันเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ ของ สสวท. (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) นักเรียนได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ รายการ ROBOONE ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น รางวัลที่ 3 โครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทประยุกต์ใช้งาน (ลานจอดปลอดภัย) ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันหุ่นยนต์ส.ส.ท.ยุวชนกรังด์ปรีซ์ (Robo Knight) ของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (ส.ส.ท.) ชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติระดับชาติจาก สพฐ.ร่วมกับกลุ่มโรงเรียนผู้นำ ICT เป็นต้น ซึ่งเป็นการต่อยอดจากพื้นฐานและได้พัฒนาให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น เช่นการเขียนโปรแกรม