welcomeBrainbankยินดีต้อนรับทุกท่าน

กลุ่มที่ 3

กลุ่มวัฒนธรรม มรดกภูมิปัญญา

มรดกภูมิปัญญา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วุฒิอาสาฯ มีการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่ อาทิ สภาวัฒนธรรมจังหวัด คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จัดทำศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจชุมชน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว และจัดทำแผ่นพับแจกนักท่องเที่ยวหรือบุคคลทั่วไปเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนชีววิถี และหมู่บ้าน OTOP ชีววิถี ในพื้นที่ ต.เกาะเรียน โดย อ.เฉลิม ทำหน้าที่เป็นรองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดและทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว เพื่อส่งเสริมให้ขนมไทยเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ จนสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัด นำไปสู่การสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมด้านขนมไทยจากบรรพบุรุษ คือ ท้าวทองกีบม้า มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งสร้างงานสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน

บทบาทของวุฒิอาสา

มีบทบาทสำคัญในการช่วยนำเสนอเรื่องราว (Story) ของขนมไทยเพื่อเพิ่มมูลค่า ทำให้คนทั่วไปรู้จักที่มา/ต้นตำรับ/ต้นกำเนิดของขนมไทยที่มาจากท้าวทองกีบม้า สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รวมทั้งยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น หมู่บ้านญี่ปุ่น หมู่บ้านฮอลันดา เป็นต้น ทำให้สามารถเชื่อมโยงกับเรื่องราวของขนมไทยอย่างเป็นรูปธรรม



ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

1. กระแสของละครบุพเพสันนิวาสที่สร้างความนิยมและความสนใจของคนในสังคมและกลับมา ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมไทยมากขึ้น เช่น ขนมไทย อาหารไทย การแต่งกาย โบราณสถาน และแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับละคร เป็นต้น
2. บทบาทของวุฒิอาสาฯ โดยเฉพาะ อ.เฉลิม ทำหน้าที่เป็นรองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด ซึ่งมีการทำงานเชื่อมโยงกับเครือข่ายต่าง ๆ อาทิ สภาวัฒนธรรมจังหวัด พัฒนาชุมชน และหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ในการส่งเสริมงานด้านวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

ผลที่ได้รับ

1.ทางตรง คนในสังคมเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมขนมไทยที่เป็นเอกลักษณ์อันทรงคุณค่าซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ รวมทั้งประชาชนทั่วไปเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมขนมไทยให้อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป
2.ทางอ้อม เกิดการส่งเสริมอาชีพจากมรดกภูมิปัญญาและพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้า OTOP ประจำจังหวัด สามารถสร้างงานสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน

3) ด้านสังคม มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกันและคนต่างวัย ได้รับการยอมรับในฐานะสมาชิกของกลุ่ม 4) ด้านจิตวิทยา รู้เท่ากันและเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามวัย 5) ด้านเศรษฐกิจ เรียนรู้ทักษะทางด้านอาชีพ สามารถนำไปประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ช่วยเหลือตนเองได้

ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน (๑๐ ประเทศ)

ประดิษฐ์ด้วยดินไทย (สุพรรณบุรี)

ทำงานกับภาคีเครือข่าย วุฒิอาสาฯ จ.สุพรรณบุรี มีการทำงานแบบรวมกลุ่ม โดยมี นางสันติยา ไชยศรีชลธาร เป็นประธานวุฒิอาสาฯ และมีการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ได้แก่ ชมรมดอกไม้ดินโพธิ์พระยา และกลุ่มผู้สูงอายุตำบลสนามชัย รวมทั้ง กศน. ตำบลโพธิ์พระยา สนับสนุนงบประมาณในการประดิษฐ์ดอกไม้ประจำชาติอาเซียนด้วยดินไทยและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานทาง Social Media ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค และYoutube ให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนมากขึ้น โดย อ.สันติยา และวุฒิอาสาฯ จ.สุพรรณบุรี ทำหน้าที่เป็นผู้สอนหรือวิทยากรให้ความรู้และสาธิตวิธีการประดิษฐ์ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน (๑๐ ประเทศ) ด้วยดินไทย ให้กับเด็กนักเรียนและผู้สนใจทั่วไป เพื่อเป็นของประดับตกแต่ง ของฝาก/ของที่ระลึก สามารถจำหน่ายเป็นรายได้ สร้างงาน/สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน

บทบาทของวุฒิอาสาฯ วุฒิอาสาฯ มีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและผู้ลงมือปฏิบัติในการประดิษฐ์ดอกไม้ประจำชาติอาเซียนด้วยดินไทย โดยมีการศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับดอกไม้ประจำชาติอาเซียนของแต่ละประเทศ เช่น ประเภทของพันธุ์ไม้ ชนิด สี ลักษณะที่โดดเด่น เป็นต้น และการนำดินไทยมาประดิษฐ์ดอกไม้แทนดินญี่ปุ่นทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและยังมีความคงทน สวยงาม รวมทั้งเป็นผู้สอนหรือวิทยากรเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการประดิษฐ์ดอกไม้ประจำชาติอาเซียนให้กับผู้สนใจทั่วไป เช่น เด็กนักเรียนและเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน และชาวบ้านในชุมชน เป็นต้น


ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

1. การประดิษฐ์ดอกไม้ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน (๑๐ ประเทศ) ด้วยดินไทย สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับสมาชิกชมรมดอกไม้ดินโพธิ์พระยา และชมรมผู้สูงอายุตำบลสนามชัยอย่างเป็นรูปธรรม
2. มีการพัฒนารูปแบบของดอกไม้ดินประดิษฐ์เป็นดอกไม้ชนิดอื่น ๆ ตามความต้องการของลูกค้า เช่น ดอกกล้วยไม้ กุหลาบ ดาหลา ต้นกวักเงิน เป็นต้น

ผลประโยชน์ที่ได้รับ

1. คนในชุมชน ได้แก่ เด็กและเยาวชน กลุ่มแม่บ้าน และชาวบ้านที่สนใจ สามารถนำความรู้ในการประดิษฐ์ดอกไม้ประจำชาติอาเซียนด้วยดินไทยไปประกอบเป็นอาชีพเสริม อาทิ ของประดับ/ตกแต่ง ของฝาก/ของที่ระลึก ช่วยสร้างงานสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน
2. ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ชมรมดอกไม้ดินโพธิ์พระยา ชมรมผู้สูงอายุตำบลสนามชัย สามารถจำหน่ายดอกไม้ดินประดิษฐ์ให้กับผู้สนใจที่มาเรียนรู้เพิ่มขึ้น และนำผลงานไปจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในงานต่าง ๆ ของภาคีเครือข่าย และมอบเป็นของที่ระลึกให้กับประธานและแขกผู้มาร่วมงาน เช่น งานพุทธสมาคมจังหวัด งานวันผู้สูงอายุ และงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นต้น