welcomeBrainbankยินดีต้อนรับทุกท่าน

กลุ่มที่ 4

ด้านสิ่งแวดล้อม

แม่น้ำบางปะกงสายน้ำแห่งชีวิต (ฉะเชิงเทรา)

วุฒิอาสาฯ จ.ฉะเชิงเทรา มีการทำงานแบบรวมกลุ่ม โดยมี นายเจษฎา มิ่งสมร เป็นประธานวุฒิอาสาฯ และทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา เทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ ชมรมลำพูบ้านโพธิ์ กลุ่มเรียนรู้บางเพล ศูนย์ศึกษาจิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และคนในชุมชนบ้านโพธิ์ ผลักดันการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ต้นจากให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตามวิถีชุมชน ภายใต้โครงการโรงเรียนสายน้ำบางปะกงที่รัก โดยกลุ่มวุฒิอาสาฯ และเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อสร้างความตระหนักในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตบริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกงให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน อาทิ เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ วิทยากรกระบวนการเรียนรู้ และผู้ประสานงานในด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทักษะความรู้และจิตสำนึกของคนในชุมชนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กับการอนุรักษ์ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน เช่น การทำผลิตภัณฑ์จักสานใบจากการทำอาหารและขนมท้องถิ่นชุมชน การทำประมงน้ำกร่อยพื้นบ้าน เป็นต้น โดยเฉพาะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์แม่น้ำบางปะกงสายน้ำแห่งชีวิต รวมทั้งการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงให้มีความอุดมสมบูรณ์และอยู่คู่กับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนตลอดไป

บทบาทของวุฒิอาสาฯ

มีบทบาทสำคัญในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ วิทยากรกระบวนการเรียนรู้ และผู้ประสานงานร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณลุ่มน้ำบางปะกงตามวิถีชุมชนให้เกิดการใช้ประโยชน์ควบคู่กับการอนุรักษ์แม่น้ำบางปะกงให้มีความอุดมสมบูรณ์ สวยงาม และยั่งยืน

ผลการดำเนินงาน

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ 1. คนในชุมชนเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์แม่น้ำบางปะกงสายน้ำแห่งชีวิต จึงพยายามส่งเสริมให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศ
2. การสร้างอาชีพและรายได้ที่สอดคล้องกับบริบทและทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน อาทิ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ผลที่ได้รับ

ทางตรง เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ รวมทั้งคนในชุมชนอำเภอบ้านโพธิ์มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ หวงแหนและดูแลแม่น้ำบางปะกงสายน้ำแห่งชีวิตของชุมชนให้มีการใช้ประโยชน์ควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงให้สวยงามและอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนและอยู่คู่กับชุมชนตลอดไป
ทางอ้อม เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ชาวนาปราดเปรื่อง (อุตรดิตถ์)

จังหวัดอุตรดิตถ์

ลักษณะการทำงานของวุฒิฯ (ปัจเจก/กลุ่ม) และวิธีการ approach ทำงานกับภาคีเครือข่าย วุฒิอาสาทำงานแบบปัจเจก เนื่องจากในพื้นที่ประสบปัญหาต้นทุนสูงจากการทำนาหว่านทั้งการใช้สารเคมีการใช้พันธุ์ข้าวต่อไร่ และค่าจ้างแรงงาน จ่าสิบตำรวจพิพัฒน์ จีนทั่ง วุฒิอาสาธนาคารสมองจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับเกษตรจังหวัดและมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ได้ศึกษาและทดลองการปลูกข้าวอินทรีย์แบบนาโยน สามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมี แรงงานและทำนาได้ด้วยตนเอง แต่ก็พบปัญหาค่าใช้จ่ายด้านแรงงานในการผลิตต้นกล้าสูง จึงเปลี่ยนมาใช้นวัตกรรมเครื่องบดดินเครื่องโรยดิน และเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ในการผลิต ทำให้ลดการใช้แรงงานในการผลิตต้นกล้าได้ แต่ยังคงใช้แรงงานมากและเกิดปัญหาการหยอดเมล็ดพันธุ์ไม่สมํ่าเสมอ วุฒิอาสาฯ จึงร่วมกับภาคีการพัฒนาร่วมกันพัฒนาปรับปรุงเครื่องบดดิน เครื่องโรยดิน เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

บทบาทของวุฒิอาสาฯ

การลงมือทำและประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมและมีประโยชน์ โดยเปิดเป็น ศูนย์เรียนรู้แก่เกษตรกรและคนที่สนใจ ร่วมถึงให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน

ใช้แรงงานลดลงและลดการใช้พันธุ์ข้าวลงเหลือเพียง 7 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งประหยัดทั้งแรงงานและต้นทุนจากไร่ละ 5,000-6,000 บาท เหลือเพียง 1,800 บาทอีกทั้งผลผลิตที่ได้ยังเป็นที่ต้องการของตลาด

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

การลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และความสามารถในการประสานหน่วยงานได้ตรงตามความต้องการ



ผลที่ได้รับ

ทางตรงลดต้นทุนในการทำนา แรงงาน และวัตถุดิบ ด้วยการใช้นวัตกรรมทำให้ประหยัด เมล็ดพันธุ์ การทำนาอินทรีย์ทำให้ไม่เสียค่าสารเคมี และลดแรงงานโดยใช้วิธีการทำนาโยนซึ่งใช้แรงงานน้อย


ทางอ้อม เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากต้นทุนที่ลดลง และข้าวอินทรีย์เป็นที่ต้องการของตลาดส่งผลให้ขายผลผลิตได้ราคาสูง อีกทั้งยังเก็บเมล็ดพันธุ์ ไว้ใช้ในการเพาะปลูก อีกทั้งสิ่งแวดล้อม และดิมมีความสมบูรณ์ขึ้นเนื่องจากไม่ใช้สารเคมี

ผลประโยชน์ที่ได้รับ

เกษตรกรนอกพื้นที่อบรมไปแล้วสามารถขยายผล และสร้างแหล่งเรียนรู้ ไปยังพื้นที่อื่นๆ โดยวุฒิอาสาฯ เป็นที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่อง