Back Office : | Login  

ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า : ผลงานวุฒิอาสา > องค์ความรู้
 บทความของวุฒิอาสา Minimize

Wednesday, June 18, 2008  
 โรคสมองเสื่อม (Alzheimer)
:: 7513 Views :: ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

โดย...ผศ. นาม  ศิริเสถียร

          คิดว่าหลายคนวัยสูงอายุเท่าผม คือ 75 ปี สิ้นเดือน พ.ค. 2550 ที่มีอาการเหมือนผมคือ ลืมว่าปิดก๊อกน้ำแล้วยัง ปิดแก๊ส ปิดไฟ ลืมแว่นตา ทั้งๆ ที่แว่นตาอยู่บนศีรษะเราเอง ลืมเงินทอนนึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก บางทีต้องใช้เวลาถึง 2 วัน กว่าจะนึกได้ก็มี อย่าคิดว่าอาการเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะมันคือสัญญาณอันตรายที่กำลังบ่งบอกว่า เราเริ่มจะเป็นโรคสมองเสื่อมแล้ว และยังไม่มีวิธีที่รักษาให้หายได้ อย่างมากก็แค่ชะลอไม่ให้อาการทรุดหนักมากไปกว่านี้เท่านั้น และวิธีที่ดีที่สุดคือป้องกัน

           ภก.ทวี  โชติมณีนองพันธ์ จากสถาบันฮันคินแล็บ  กล่าวว่าสมองเป็นอวัยวะที่สลับซับซ้อน และสำคัญที่สุดของคน สมองไม่เพียงแต่เป็นแหล่งกำเนิดของความคิดและอารมณ์เท่านั้น สมองของคนเราจะมีการพัฒนาตั้งแต่เกิดไปจนถึงช่วงอายุประมาณ 50 ปี หลังจากนั้นสมองก็เริ่มเสื่อมลงไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่คนเราใช่สมองคิด สั่งการ แสดงความรู้สึก แสดงอารมณ์ ค่า ps (Phosphatidyl Serine) ในสมองจะลดลง  จากกิจวัตรประจำวันเหล่านี้

           ทางการแพทย์สรุปสาเหตุของการที่สมองเสื่อมไว้ 2 กรณีใหญ่ๆ คือ เสื่อมไปตามวัย กับเสื่อมเพราะเป็นโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์ = Alzheimer) แต่ทั้ง 2 กรณี มีสาเหตุมาจากอันเดียวกันคือ การลดน้อยลงของสาร ps ในสมอง ดังนั้นวิธีแก้ไขก็คือ ต้องเพิ่มสาร ps ในสมองให้มากขึ้น เพื่อทดแทนสาร ps  ที่ขาดไป และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มสาร ps ให้ทันก่อนที่จะสายเกินไป ดร.เดวิส  รูเนเบิร์ก จากสถาบันฮันคินแล็บ ประเทศฟินแลนด์ กล่าวว่า ps เป็นสารที่เป็นส่วนประกอบหลักของเซลล์สมอง ในเซลล์สมอง 1 เซลล์ ประกอบด้วยสาร ps ถึงร้อยละ 98 การดูแลรักษาสมองก็คือการเพิ่มสาร ps ที่ลดลง ต้องเริ่มต้นดูแลสมองอย่างจริงจัง ตั้งแต่อายุน้อยและต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนักเรียน นักศึกษา ผู้บริหาร นักธุรกิจ แม่บ้าน ตลอดจนคนหนุ่มสาว โดยเฉพาะคนที่เรียนหนัก คนที่ทำงานใช้สมองมากๆ คนมีสมาธิสั้น คนที่มีอาการซึมเศร้า คนที่ติดสุรา บุหรี่ ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษคือการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ของจริงแน่นอนครับ และอย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ใช้สมองด้วย การอ่านหนังสือ คิดวิเคราะห์หาเหตุผล เพื่อฝึกสมองให้ทำงาน ผมเพิ่มให้

ที่มา  :  หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 16 พฤษภาคม 2550 หน้า 10


 Print   
 บทความที่เกี่ยวข้อง Minimize

 Print   
Copyright © 2008 by สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ