Back Office : | Login  

ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า : ผลงานวุฒิอาสา > องค์ความรู้
 บทความของวุฒิอาสา Minimize

Wednesday, June 18, 2008  
 ถ้าคนไทยมีอายุยืนเฉลี่ยถึง 80 ปี
:: 7762 Views :: ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

โดย...ผศ. นาม  ศิริเสถียร

         ผมเคยคาดว่าผมจะตายเมื่ออายุ 70 ปี แต่รอดมาได้ และจะครบ 76 ปีสิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 นี้ เข้าทำนองที่ว่า “ไม่ถึงที่ตายก็ไม่วายชีวาวาต ใครพิฆาตเข่นฆ่าไม่อาสัญ เมื่อถึงที่ตายก็ต้องวายชีวาวัน มิใครทันทำร้ายก็ตายเอง” ปกติผมระมัดระวังในการกินอาหาร บำรุงรักษาร่างกายและจิตใจ หมั่นออกกำลังกาย ตื่นเช้า หุงข้าวไปใส่บาตรเกือบทุกวันและอุทิศส่วนกุศลให้ผู้มีพระคุณ ทั้งคุณพ่อ - แม่ ครูบาอาจารย์ และเพื่อนมนุษย์ที่รู้จักและไม่รู้จัก ที่ตายเนื่องจากอุทกภัย วาตภัย คลื่นยักษ์สึนามิ ตายในสงครามอิรัก อิสราเอล และภาคใต้ของเรา ผมพยายามลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ พยายามใฝ่หาธรรมะมาเติมจิตใจ เท่าที่กำลังความสามารถจะทำได้ ลด ละ เลิกความโลภ โกรธ หลง พยายามอยู่อย่างช่วยเหลือตนเอง มิให้เป็นภาระแก่ผู้อื่น ขอเข้าเรื่องเลยดีกว่านะ

เป้าหมายให้คนไทยอายุขัยเฉลี่ย 80 ปี

       ปลายปี 2547 กระทรวงสาธารณสุข อยากให้คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นจาก 72 ปี ในปัจจุบันเป็น 80 ปี ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีประชากรมีชีวิตยืนยาวที่สุดในโลก คือมีอายุขัยเฉลี่ย 81 ปี และประเทศที่มีอายุขัยเฉลี่ยสูงถึง 80 ปี ในปัจจุบันมี สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี และออสเตรเลีย (ดูตารางที่ 1) ปกติประเทศที่มีประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยสูง 77 ปี ขึ้นไป ล้วนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ฉะนั้นถ้าประเทศไทยจะมีอายุขัยเฉลี่ยของประชากรสูงถึง 80 ปี ก็ต้องยกระดับการพัฒนาประเทศให้สูงขึ้น จัดอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้วให้ได้

       ประเทศที่พัฒนาแล้ว แม้จะวัดกันด้วยเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่ก็มีความหมายถึงการพัฒนาด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและการสาธารณสุข สิ่งเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตคนทั้งทางตรงและทางอ้อม จริงไหม ฉะนั้นการปรับปรุงพัฒนาให้คนไทยมีอายุยืนถึง 80 ปี เราควรจะทำอะไรบ้าง

       1.   ลดอัตราการตายของทารกคือต้องต่ำกว่า 6 ต่อ 1,000 คน ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยยังสูงเกือบร้อยละ 20 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในชนบท คนยากจน และคนด้อยโอกาส กระทรวงสาธารณสุขจะต้องให้การดูแลประชากรเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การคลอด การสร้างภูมิคุ้มกันโรคและโภชนาการสำหรับเด็ก ต้องผลิตแพทย์และพยาบาลเพิ่มขึ้น

       2.  ลดการตายก่อนวัยอันควรในวัยทารกและเด็ก ในบ้านเรามีทารกและเด็กตายก่อนวัยอันควรมาก ตายเป็นหมื่นคนในแต่ละปี เช่น ตายด้วยโรคติดเชื้อ ท้องร่วง ปอดบวม มาลาเรีย ไข้เลือดออก เอดส์ และยังตายด้วยสาเหตุภายนอก อาทิ อุบัติเหตุ จมน้ำตาย  ได้รับสารพิษ และตายเนื่องจากคลอดแล้วแม่นำไปทิ้งตามที่ต่างๆ ปกติเด็กอายุ 1 ขวบไปจนถึงอายุ 15 ปี มีโอกาสรอดชีวิตสูง เช่น ในประเทศญี่ปุ่นเด็กในวัยอายุ 1 - 14 ปี มีโอกาสมีชีวิตรอดมากกว่า 99.95% แต่ของไทยมีโอกาสเพียง 99.60% เท่านั้น

      3.  ลดการตายในวัยหนุ่มสาว มีคนตายในวัยหนุ่มสาวปีละหลายหมื่นคน ด้วยเหตุที่น่าจะป้องกันได้ รักษาได้ และผู้ชายตายมากกว่าผู้หญิง สาเหตุหลัก 2 ประการ ที่ทำให้คนตายก่อนวัยอันควรในระยะหนุ่มสาว คือ เอดส์และอุบัติเหตุ ในประเทศที่เจริญแล้วที่คนมีอายุขัยเฉลี่ย 78 - 80 ปี ไม่มีประเทศใดในโลก ที่มีการระบาดของโรคเอดส์เหมือนประเทศไทย ประชาชนอายุ 15 - 49 ปี เป็นเอดส์ต่ำกว่า 0.5% แต่ของประเทศไทยสูงเกือบ 2% จึงทำให้คนไทยวัยหนุ่มสาวตายปีละหลายหมื่นคน และอีกประการหนึ่ง คือ อุบัติเหตุ อาทิ ช่วงสงกรานต์เพียง 10 วัน ตายถึง 522 คน ในปี 2548 เนื่องจากขับรถไม่เคารพกฎจราจร ไม่สวมหมวกกันน๊อก และดื่มแอลกอฮอล์ ฉะนั้นควรปรับปรุงถนน เปลี่ยนพฤติกรรมการขับรถให้มีวินัยการจราจร ทุกครอบครัวช่วยกันสอนบุตรหลานให้ขับรถไม่ประมาท ระมัดระวัง รอบคอบ เคารพกฎจราจร สวมหมวกกันน๊อก และ ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่ เด็ดขาด

ตารางที่ 1 แสดงประเทศที่มีอายุขัยเฉลี่ย 77 81 ปี และประเทศไทย ในปีพ.ศ.2547

ที่

ประเทศ

อายุขัย

เฉลี่ย / ปี

อัตราตาย

ของทารก

ประชากรอายุ 15-49 ปี

เป็นเอดส์ %

ประชากร อายุ 65 ปี ขึ้นไป %

1

ญี่ปุ่น

81

3.2

0.5

18

2

สวีเดน

80

3.4

0.1

17

3

สวิตเซอร์แลนด์

80

5.0

0.5

15

4

อิตาลี

80

4.6

0.4

19

5

ออสเตรเลีย

80

5.2

0.1

12

6

นอร์เวย์

79

3.8

0.1

15

7

สเปน

79

4.5

0.5

17

8

แคนาดา

79

5.3

0.3

13

9

อังกฤษ

78

5.6

0.1

16

10

สิงคโปร์

78

2.2

0.2

7

11

นิวซีแลนด์

78

2.0

0.1

12

12

เดนมาร์ค

77

5.3

0.2

15

13

สหรัฐอเมริกา

77

6.6

0.6

13

14

ไทย

72

18.0

1.8

6

ที่มา : Population Reference Bureau 2004 World Populate Data Sheet


 Print   
 บทความที่เกี่ยวข้อง Minimize

 Print   
Copyright © 2008 by สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ