เปิดเวที “เชื่อมเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาวุฒิอาสาธนาคารสมองระดับกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ตอนกลาง และตอนล่าง 1

ระหว่างวันที่ 11 และ 12 กรกฎาคม 2567 สภาพัฒน์ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาไท เปิดเวที “เชื่อมเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาวุฒิอาสาธนาคารสมองระดับกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ตอนกลาง และตอนล่าง 1

เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มการทำงานและสร้างเครือข่ายการทำงานในระดับพื้นที่ของวุฒิอาสาฯ ในการเป็นพลังร่วมพัฒนาประเทศ ตามเป้าหมายการพัฒนาของกลุ่มจังหวัด โดยเปิดเวทีระดมความคิดเห็นประเด็นการขับเคลื่อนงานของวุฒิอาสาฯ ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมฟอร์จูน จังหวัดนครราชสีมา และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย วุฒิอาสาฯ จากกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) วุฒิอาสาฯ จากกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์) ผู้บริหาร สศช.กรรมการมูลนิธิพัฒนาไท เจ้าหน้าที่ สศช. และ มพท. โดยกลุ่มแรกจำนวนประมาณ 120 คน และกลุ่มที่สอง จำนวน 60 คน

นางสาววรวรรณ  พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาไท นำเสนอเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานการณ์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด สถานการณ์ด้านประชากรที่สำคัญ การพัฒนาคนตามดัชนีความก้าวหน้าของคน (HAI) ใน 8 มิติ ประกอบด้วย มิติด้านสุขภาพ มิติด้านการศึกษา มิติด้านชีวิตการงาน มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม มิติด้านชีวิตครอบครัวและชุมชน มิติด้านการคมนาคมและการสื่อสาร และมิติด้านการมีส่วนร่วม  พร้อมทั้งปัญหาและความท้าทายที่สำคัญ ตลอดจนการขับเคลื่อนงานของวุฒิอาสาฯ โดยกล่าวว่า เป้าหมายและแนวทางพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พ.ศ. 2566-2570) ได้ให้ความสำคัญสู่การเป็น “ศูนย์กลางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” โดยให้ความสำคัญกับประเด็นการพัฒนาใน 3 มิติ ได้แก่ (1) การเป็นฐานการผลิตของประเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green) (2) การเป็นประตูเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน (Gate) และ (3) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน (Growth)

    เป้าหมายการพัฒนาตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (พ.ศ. 2566-2570) จะมุ่งเน้นการเป็น “ศูนย์กลางของเกษตรอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อารยธรรมขอม การค้าชายแดน ผลิตภัณฑ์ไหม และสังคมเป็นสุข สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน” ใน 3 ประเด็นการขับเคลื่อนที่สำคัญ ได้แก่ 1) ด้านการดูแลกลุ่มเปราะบาง  ) ด้านการเพิ่มรายได้ภาคเกษตร 3) ด้านการท่องเที่ยววิถีชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (พ.ศ. 2566-2570) เน้น “เติบโตด้วยเศรษฐกิจแห่งอนาคต สังคมเป็นสุข สิ่งแวดล้อมยั่งยืน”  ใน 3 ประเด็นการขับเคลื่อนที่สำคัญ ได้แก่  1) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  2)  ด้านการเกษตรมูลค่าสูง 3)  ด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *